วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะพระรอดพิมพ์ใหญ่

ลักษณะพระรอดพิมพ์ใหญ่
1. ฐานประทับขององค์พระจะมี 4 ชั้น มากกว่าทุกพิมพ์ให้เปรียบเทียบดู

2. ตรงก้นขององค์พระจะเป็นรอยพับม้วนยื่นออกมาทางด้านหน้าเป็นจุดสังเกตจุดหนึ่ง
3. บริเวณแอ่งหน้าตักจะมีเส้นเล็ก ๆ ขนาดเท่าเส้นผมสั้น ๆ เรียกว่าเส้นผ้าทิพย์ ซ่อนอยู่ระหว่างใต้ร่องฐานที่เป็นแอ่งลึก
4. มีเส้นพิมพ์แตกตรงข้างหูด้านซ้าย มีติ่งนูนอยู่บนเส้นพิมพ์แตกนี้ประสานกับรอยพิมพ์แตกไปจรดกับโพธิ์ด้านซ้ายสุดลงมา
5. สะดือเป็นเบ้าคล้ายเบ้าขนมครก ไม่ใช่บุ๋มลึกลงไป
6. มีเส้นน้ำตกตรงใต้ศอกซ้าย ย้อยลงมาใต้เข่าขวาและใต้ฐานขั้นแรกลงมา
7. ก้านโพธิ์ใบโพธิ์วางตำแหน่งโดยรอบองค์พระอย่างมีมิติดูเป็นระเบียบงดงามทั้ง 7 ข้อนี้คือข้อสังเกตุในพระรอดพิมพ์ใหญ่

พระรอดพิมพ์ใหญ่
1.แยกกลุ่มโพธิ์ให้ได้มี 6 กลุ่มโดยมีก้านโพธิ์กั้น
2.ผนังซ้ายมือขององค์พระมีเส้นพิมพ์แตกลากจากพระกรรณยาวลงมาถึงโพธิ์ข้างหัวไหล่
3.ปลายพระกรรณเป็นขอเบ็ด
4.สะดือเป็นหลุมคล้ายเบ้าขนมครก
5.มีเส้นน้ำตกลากผ่านหน้าตักจนถึงชั้นฐาน
6.มีฐาน 4 ชั้น
7.หัวแม่มือขวากางอ้าปลายตัด
8.ใบโพธิ์กลางชุดที่ 2 เป็นโพธิ์ติ่ง
9.ใบโพธิ์จะตั้งเป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายทรงพีระมิด
10.เนื้อละเอียดมากด้านหลังเป็นลอยคล้ายลายนิ้วมือ
11.ก้นมีสองชนิดคือก้นเรียบและก้นแมลง สาบ (ก้นพับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น