วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ประวัติ พระฤาษีนารอด ผู้สร้างพระรอดมหาวัน

ระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ แล้วแต่จะเรียก
 




เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
พระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้
พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก

สิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติม
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง
พระฤษีนารอด ท่านเป็นหมอยาที่มีคาถาอาคมเก่งกล้า ทั้งยังเป็นอาจารย์รดน้ำมนต์ที่เก่งที่สุดอีกด้วยท่านมีบารมีมาก ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น รูปร่างหน้าตาของท่านก็ยังมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงในระหว่างอกมือถือดอกบัว ตรงด้านหน้ามีบาตรน้ำมนตร์ตั้งอยู่เป็นประจำ เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชงัดนักแล ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววันมักจะมีคนพูดกันทั่วไปว่า พระฤษีนารอดเป็นพี่ชายของ พระฤษีนารายณ์แต่บำเพ็ญพรตกันอยู่คนละแห่ง นานๆจึงจะได้พบกันสักครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ที่จริงแล้วผู้ที่เป็นน้องชายของพระฤษีนารอดก็คือ พระฤษีนาเรศร์ มิใช่พระฤษีนารายณ์ ที่ถูกต้องก็คือ พระฤษีนาเรศร์ นี่แหละที่เป็นน้องชายแท้ๆของ พระฤษีนารอด และก็ได้บำเพ็ญตบะอย่างมุ่งมั่นอยู่กันคนละแห่ง สำหรับพระฤษีนาเรศร์นี้ ท่านเก่งในคาถาอาคมศักดิ์สิทธิ์มีเวทมนตร์ขลังเป็นที่สุด ชอบสันโดษบำเพ็ญพรตอยู่แต่ในป่าลึกๆ ไม่ค่อยชอบสมาคมกับใครเท่าใดนัก แม้แต่พี่น้องกันแท้ๆ ยังนานๆได้พบกันที พอพบกันก็จะดีใจถึงกับกอดกันแน่นด้วยความปลื้มปิติยินดีท่านที่กราบไหว้บูชาพระฤษีสององค์พี่น้องก็จะเป็นมงคลอันสูง ท่านก็จะได้แผ่บารมีแห่งความเมตตามายังท่าน มาป้องปัดบำบัดรักษา และคุ้ม
ครองมิให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนตลอดกาล....

พระฤษีนารอดสวมเทริดฤษี ยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาโสฬสนอกกรุงลงกา เมื่อครั้งหนุมานไปถวายแหวนนางสีดา เหาะเลยกรุงลงกาไปจึงไปพบพระฤษีนารอด(ฤษีนารท) โดยบังเอิญ แล้วต่อสู้กัน หนุมานแพ้จึงยอมอ่อนน้อมให้พระฤษี และเมื่อครั้งหนุมานเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางดับไม่ได้ พระฤษีนารอดจึงดับให้....