วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระรอดพระสิงห์ใช้แทนกันได้

ประวัติการสร้าง พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๖
ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณวัดอุปคุต เชิงสพานเนาวรัตน์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เวลา ๑๑.๔๕น. ตรง และในเดือนเดี่ยวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๑๕ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เริ่ม พิธี ๙.๒๑ น. ๔๑ วินาที และเริ่มจุดเทียนไชย เวลา ๑๙.๒๙ น. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการจัดสร้างพระรอด พร้อม ด้วยคณะกรรมการพุทธสถานก็ได้รวมกันประกอบพิธีมหามงคลสร้างพระรอด ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อสมทบทุนสร้างพุทธสถานแห่งนี้
 พระรอดรุ่นเก่าสมัยโบราณหรือที่สร้างก่อนพระรอดรุ่นนี้ ได้เนื้อดินมาจากแห่งหนตำบลใดที่เป็นปัญหาแรกที่ต้องคิดเพราะการสร้างพระรอดนั้นจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาทางไสยศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบเรียนหารือกับ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาญแพทย์ รน. เจ้ากรมเเพทย์ทหารเรือในปัจจุบัน เพื่อได้ตรวจสอบทางทิพยญาณจักษุ ก็ได้รับทราบว่าพระรอดเกือบทุกรุ่นใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคงจังหวัดลำพูนแต่การที่จะไปขอดิน ณ บริเวณดังกล่าวแล้วจะต้องตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและเทวดาที่รักษา เมื่อขุดลงไปประมาณ ๓ ศอกก็จะพบดินที่ต้องการ ข้าพเจ้าจึงได้เรียนให้คณะกรรมการพุทธสถานรับทราบและดำเนินการจนได้ดินเพียงพอแก่ความต้องการ ซึ่งดินบริเวณนี้เมื่อได้นำมาสร้างพระรอดแล้ว เนื้อองค์ของพระรอดจะแข็งแกร่ง หาอะไรเปรียบมิได้


ดินทั้งหมดที่ได้มานี้ ข้าพเจ้าได้ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเศก น้ำมนต์พระคาถาแสน น้ำมนต์ ร้อยที่และกลั่นกรองด้วยผ้าขาวสะอาดเอาแต่ผงละเอียดอ่อนซึ่งมีลักษณะเหมือนแป้ง แล้วผสมด้วยผงพระธาตุ ผงพระเบิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงพระสมเด็จพุฒาจารย์ ประกอบด้วยผงตรีนิสิงเห ผงปัทมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของคณาจารย์รุ่นเก่า เช่นหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทองคำวัดหนามแตง และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผสมเคล้ากันจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงปั้นเป็นก้อนกลมขนาดผลส้ม ส่งดินนี้ไปให้อาจารย์ฉลองเมืองแก้วชึ่งท่านทั้งหลายจะทราบกิติศัพท์ว่าอาจารย์ผู้ที่เสกตะกรุดทองลอยน้ำ เสกข้าวสารเป็นกุ้ง เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุที่กรุงเทพฯ เสร็จพิธีใส่ธาตุแล้ว นำไปจัดพิมพ์ที่จังหวัดลำพูนด้วยแม่พิมพ์ ๑๑ อันได้พระรอด ๑๑ สีพอดี

เมื่อได้เวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์ พระครูศิวาจารย์ แห่งกรุงเทพฯพร้อมด้วยคณะเป็นประธานฝ่ายพราหมณ์มหาปัญจพิธีพร้อมด้วยโอมอ่านศิวะเวทย์ อัญเชิญท้าวเทพยะดา ทั้งหลาย ท่านฤาษีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ฤาษีเทว หรือ ฤาษีวาสุเทพ ซึ่งสิงสถิตย์อยู่อุฉุจบรรพตริมแม่น้ำโรหินี (น้ำแม่ขาน) ฤาษี สุขทันตะเขาสามยอดเมืองละโว้ ฤาษีอนุสิษฎ์สถิตย์อยู่หะสิกะวัลลีนคร (ศรีสัชนาลัย) ฤาษีพุทธะชลิต ซึ่งสถิตอยู่ดอยขุหะระบรรพต แม่น้ำสารนัทที (ดอยมา) ฤาษีสุพรหมสถิตอยู่ ณ ดอยงามใกล้แม่น้ำวัง และฤาษีนารอด ซึ่งเป็นองค์ปฐมแรกในการสร้างพระรอดกับอัญเชิญวิญญาณพระนางจามเทวี กษัตริย์ทุกพระองค์ในกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงลานนาไทย และกรุงรัตนโกสินทร์ เวลา ๑๙.๒๙ ประกอบพิธีจุดเทียนไชย พระมหาราชครูวามมุนี อ่านโองการชุมนุมเทวดาและสรรเสริญพระรัตนยาธิคุณ เสร็จแล้ว พราหมณ์เป่าสังข์แกว่งปัณเฑาะว์ ครั้นแล้วพระครูวามมุนี อาราธนาพระปริต พระธรรมราชานุวัตร กับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษสวดพระปริต พระสูตรต่างๆ จบแล้วพระคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเศกตลอดคืน พิธีนี้ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาแพทย์ รน. ได้มาร่วมในพิธีตลอดเวลา ปรากฏว่าผู้ใดได้พระรอดรุ่นนี้ไปบูชา จะมีโชคชัย ปลอดภัย สวัสดิมงคล และเป็นมหานิยม มหาอำนาจ คงกะพันชาตรี โภคทรัพย์ ซึ่งจะหามิได้ต่อไปอีกแล้ว

เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ของพระรอดรุ่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้อาราธนาพระราชาคณะตามอารามต่างๆ คือ

1. เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์

2. เจ้าคุณสีหสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง


3. เจ้าคุณเมธีสมุทเขตต์ วัดเจริญสุขาราม ราชบุรี


4. เจ้าคุณภาวนาภิราม วัดระฆัง


5. เจ้าคุณภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


6. พระครู ทักษิณานุกิจ (หลวงพ่อเงิน)


7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก


8. พระครูสุนทรสังฆกิจ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี


9. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์


10.พระครูวิสุทธิรังษี วัดใต้ กาญจนบุรี


11.พระครูโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี อ.ภาษีเจริญ ธนบุรี


12.พระครูพักตร์ วัดบึงทองหลาง 


13.พระครูมหาศรีสุนทร วัดหลวงสุวรรณาราม ลพบุรี


14.พระครูใบฎีกาประหยัด วัดสุทัศน์ 


15.พระครูสังข์ วัดสัมพันธวงศ์ 


16.พระอาจารย์จัน วัดคลองระนงค์ นครสวรรค์


17.พระอาจารย์โพธิ์ วัดราชโยธา อ. มินบุรี


18.พระอาจารย์ พี วัดสวนพลู


19.พระธรรมธรหลาย จ.ชลบุรี


20.พระปลัดตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี ภาษีเจริญ ธนบุรี


21.ท่านอาจารย์ยัง วัดบางจาก นนทบุรี


22.ท่านอาจารย์ทบ อ.กิ่งชนแดน จ.เพ็ชรบูรณ์


23.ท่านอาจารย์สำอาง วัดเขาดิน จ.กาญจนบุรี


24.อาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี


25.หลวงพ่อนอ ท่าเรือ จ.อยุธยา


26.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.นครสวรรค์


27.หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ


28.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน อ.บางเลน จ.นครปฐม



มาร่วมในพิธีสวดปริตและบริกรรมปลุกเศกด้วยยอดคาถาแห่งสูตรต่างๆ พร้อมด้วยกฤตยาคมเวทย์มนต์ศิวเวทย์พระวิษณุเวทย์ สวดชัยมงคลคาถาพุทธลักษณะและพุทธภิเศกตลอด ๓ วัน๓ คืน ในระหว่างที่พระคณาจารย์ต่างๆ นั่งปลุกเศกบริกรรมนี้มีนิมิตรต่างๆ อันเป็นมงคลยิ่งดังที่จะขอกล่าวต่อไปนี้

บริเวณพระที่ ที่ตั้งโต๊ะสังเวย วิญญาณของพระนางจามเทวี อดีตกษัตริย์ทุกพระองค์แห่งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ กรุงลานนาไทย ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดพระสิงห์ ได้มีหมู่ผีเสื้อบินมาวนเวียนอยู่เหนือเครื่องสังเวย อย่างมากหลายเป็นมหัศจรรย์ ได้เรียนถาม พล.ร.ต. หลวงสุวิชาญเเพทย์ ได้ รับตอบว่าวิญญาณอดีตกษัตริย์ทุกพระองค์ตลอดจนลูกหลานเหลน ได้มาชุมนุมรับเครื่องสังเวยพร้อมเพรียงกัน ทุกพระองค์ทรงชื่นชมยินดีที่ได้มีการสร้างพระรอดรุ่นนี้ พล.ต. เจ้าราชบุตร อดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ถึงกับปลื้มปีติน้ำตาไหลเมื่ออ่านโองการถึงพระนามของกษัตริย์แห่งกรุงลานนาไทย ทุกพระองค์ และโดยเฉพาะเจ้าแก้วนวรัตน์ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของท่าน



เวลา ๑๗.๐๐ น. พระธรรมธรหลาย ได้นิมิตร เห็นขณะที่นั่งปรกบริกรรม ว่ามีพระแก้วขาวปรากฎ มีผู้หญิงแต่งตัว 


โบราณเป็นผู้รักษา มีพระอาจารย์แก่ๆ ๒ องค์มาด้วย


เวลา ๒๑.๕๐ น. ได้เรียนถาม พล.ร.ต. หลวงสุวิชาแพทย์ ว่าตามที่อัญเชิญดวงวิญญาณต่าง ๆ ให้มาประทับเป็น 

ประธานในพิธีนั้นมาทุกพระองค์หรือไม่ ก็ได้รับตอบว่าทุกพระองค์รวมทั้งฤาษีที่สำเร็จ-มาหมด 

(ขอที่บดยา ๑ ที่ด้วย)

เวลา ๒๒.๐๐ น. หลวงพ่อสำเนียง นิมิตรเห็นมีพระพุทธรูปทองคำลอยอยู่ในวงสายสิน ๕ องค์ และมีรัศมีพุ่งเป็นรังษี 

และมีเทพบุตร เทพธิดา อยู่รอบ ๆ ถือดอกไม้ธูปเทียนบูชา

เวลา ๒๒.๒๕ น. อาจารย์สำอางค์ วัดเขาดิน นิมิตรเห็นว่าพระรอดรุ่นนี้ชนะทุกทาง

เวลา ๒๒.๔๐ น. พระครูวินัยสุนทร มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้มีคงกะพันชาตรี และเป็นมหานิยม

เวลา ๒๓.๐๗ น. พระอาจารย์จัน วัดคลองระนง ว่าพระรอดรุ่นนี้มีเมตตาและปลอดภัยดี

เวลา ๒๓.๒๕ น. หลวงพ่อเผือก มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ใช้ได้ ๑๐๘

เวลา ๒๓.๔๓ น. พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร เจ้าคณะตำบลวัดพระสิงห์ มีนิมิตรว่าเมตตาดีอยู่ยงคงกะพัน

เวลา ๒๔.๓๐ น. เจ้าคุณภาวนาภิรามเถร วัดระฆัง มีนิมิตรว่า เห็นเทวดาลงมามีรูปร่างใหญ่สูงเท่าพระวิหาร เป็นสีขาว

เวลา ๒๔.๓๗ น. พระอาจารย์พี วัดสวนพลู มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ดีมีอิทธิฤทธิ์แรงกล้ามาก

เวลา ๒๔.๕๐ น. เจ้าคุณวิสุทธิรังษี มีนิมิตรว่ามีช้างใหญ่เดินผ่านเข้ามาและมิได้ทำอะไรเพราะเกรงกลัวความศักดิ์ 

สิทธิ์ของพระรอด
เวลา ๐๑.๒๐ น. พระครูมหาศรีสุนทร มีนิมิตรว่าพระรอดรุ่นนี้ดีมาก มีพระพุทธรูปมานั่งในพิธี

เวลา ๐๑.๔๕ น. หลวงพ่อแฉ่ง มีนิมิตรว่า ดีมีแสงว่าฉายมาปกคลุมพระรอดอยู่ตลอดเวลา

เวลา ๐๒.๔๕ น. เจ้าคุณเมธีสุนทรเขตต์ มีนิมิตรว่าเห็นแสงสว่างกระจายอยู่เต็มบริเวณพิธีนี้ตลอดเวลา

เวลา ๐๓.๐๐ น. พระครูพักตร์ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้อยู่ยงคงกะพันดีมาก

เวลา ๐๓.๔๕ น. พระครูสมุทรสังฆกิจ มีนิมิตรว่า มีสีขาว-เขียว สลับกัน ปรากฏที่บริเวณที่ตั้งพานพระรอด
เวลา ๐๓.๕๕ น. พระอาจารย์ทบ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้ดีมาก มีคงกะพันชาตรี

เวลา ๐๔.๓๐ น. พระอาจารย์โพธิ มีนิมิตรว่า พระรอดรุ่นนี้มีเมตตาคงกะพันชาตรี แคล้วคลาดมากอำนาจ
เวลา ๐๔.๔๐ น. พระอาจารย์มิ่ง มีนิมิตรว่ามีรัศมีฉายแสงสว่างรุ่งเรืองดีเป็นประกาย
เวลา ๒๑.๔๗ น. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น มีนิมิตรว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้อาศัยอานุภาพของพระธาตุดอยสุเทพเป็นที่ 

คุ้มครองให้ความร่มเย็นเป็นสุข
เวลา ๒๓.๓๐ น. พระธรรมธรหลาย ชลบุรี มีนิมิตรว่า ดีมาก แก้เขี้ยวงาและอสรพิษทั้งหลายได้ 

เวลา ๒๓.๕๐ น. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรื่อ มีนิมิตรว่า มียักษ์ มีพรหมสี่หน้ามายืนถือกระบองบริกรรมจนยักษ์และพรหม 
หายไป และมีพระภิกษุ ตลอดจนชายหญิงจำนวนมากมาเดินวนเวียน ถือดอกไม้ธูปเทียนบูชาตลอด 

นอกจากนี้ในขณะที่เริ่มบริกรรมปลุกเศกนั้นนาฬิกาประจำโบสถ์ซึ่งเดินถูกต้อง เวลาได้หยุดนิ่งไปทันที เป็นที่ปลาบปลื้มปีติยินดีแก่ผู้ที่ไปพบเห็นเป็นอย่างมาก

หนึ่ง พระรอดรุ่นนี้ มีผู้ที่ได้รับไปบูชามากหลายผู้ที่รับไปมีนิมิตรดีต่าง ๆ และรอดพ้นจากอันตรายอย่างมหัศจรรย์ก็มีมาก เหลือที่ข้าพเจ้าจะพรรณนามาในที่นี้ ทั้งนี้มิได้รวมถึงพลานิสงส์ที่ท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างพุทธสถานครั้งนี้ด้วย



เฉพาะตัวข้าพเจ้าเอง นับแต่เมื่อเริ่มเข้ามารับตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียวใหม่ ในชั้นแรก เมื่อได้มาพบเห็นประชาชนในจังหวัดนี้มีจิตศรัทธา เชื่อมั่นในบวรพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ทำให้เบาใจในการที่จะปฎิบัติหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดกฏหมายและเห็นว่าเป็นจังหวัดเดียวเท่านั้นที่ประชาชนมีความเลื่อมใสในท่างพุทธศาสนามากและด้วยน้ำใจอันแท้จริง ไม่เอาพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า เช่น ปากบอกว่ามีความเคารพนับถือแต่ใจไม่เอาด้วยอย่างนี้ที่เชียงใหม่ไม่ใคร่มี เมื่อครั้งที่ประชุมพุทธศาสนิกชนที่โรงตองตึง โดยท่านเจ้าคุณปัญญานันทภิกขุเป็นหัวหน้า เป็นกิจวัตรนั้น ข้าพเจ้าได้ไปร่วมฟังพระธรรมคำสอนเกือบทุกครั้งมีความตื้นตันใจที่ได้มาพบเห็นผู้ที่มีใจบุญกุศลอย่างนี้ และเมื่อมีท่านผู้มีใจศรัทธาริเริ่มก่อสร้างพุทธสถานขึ้น ข้าพเจ้าได้ร่วมมือด้วยตลอดมาจนบัดนี้ ไม่เคยลืมแม้จะโยกย้ายไปอยู่แห่งหนตำบลใด งานที่ติดตัวไปและที่ไม่เคยลืมก็คือ พุทสถานแห่งนี้ ใจจดใจจ่ออยู่อย่างนี้แม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้าพเจ้าก็มั่นใจว่าจะต้องสำเร็จเรียบร้อยภายในเวลาอันไม่ช้านี้ ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมมือของท่านพี่น้องชาวจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหลายและพุทธศาสนิกชนทั่ว ๆ ไป ในอันที่จะให้พุทธสถานนี้เป็นถาวรวัตถุอยู่คู่กับนครเชียงใหม่ หรือ พิงค์นคร ตลอดไปชั่วกัลปวสาน สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะเป็นสถานอันศักดิ์สัทธิ์ เพราะคำว่า พุทธะนั้น แปลว่าผู้รู้หรือผู้ตื่น คือไม่หลับ เป็นผู้เบิกบานคือไม่หุบ หรือไม่มืด และเมื่อสรุปแล้ว พุทธศนาก็คือ วิธีปฏิบัติเพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์ โดยการทำให้รู้ความจริงว่าอะไรเป็นอะไร แม้จะกล่าวถึงความจริงที่ลึกซึ้งเร้นลับ นอกเหนือไปกว่าคนธรรมดาจะเห็นได้ เช่นความรู้เรื่อง สุญตา เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเล่าเรียนศึกษากันมาก และสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนาตัวแท้นั้นไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เรื่องบอกเล่า ไม่ใช่หลักแห่งการคิดไปตามเหตุผล ตัวแท้ของพุทธศาสนา ต้องเป็นตัวการปฏิบัติ ด้วยกาย วาจาใจ ชนิดที่จะทำลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือ สิ้นสุดไปในที่สุด และสถานที่แห่งนี้จะเป็นสถานที่รับรู้สิ่งทั้งปวงดังกล่าวแล้ว และก็คงจะมีสถานอันศักดิ์สิทธิ์เพียงแห่งเดียว คือ ณ บริเวณวัดอุปคุตเชียงใหม่นี้เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตำหนิพระรอดพิมพ์ใหญ่

พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่ตำหนิพระรอดพิมพ์ใหญ่
ตำหนิพระรอดพิมพ์ใหญ่ และ การสังเกตุพระรอด
1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
 8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
 9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

คาถาบูชาพระรอด

คาถาบูชาพระรอด

นะโม 3 จบ

**โอม ฤ ฤา ฤ ฤา นมัสสิตวา ปู่ฤาษีนารอด สิทธิเตโช มหาบุญโญ มหายโส มหาลาโภ อิทธิ ฤทธิ ประสิทธิเม**
พระฤาษีนารอด เป็นบริวารแห่งองค์ศิวะเทพ เป็นบรมครูของพระพิฆเณศและพระขันธกุมาร และเป็นเพื่อนซี้ของพระแม่อุมาเทวี คำสวดบูชาสั้นๆ ได้มาจากพระแม่มหากาลี เมื่อครั้งลงมาโปรดโลกมนุษย์ "โอม นารอด นะมะฮา" สวดได้ตลอดเวลา ขอได้ทุกเรื่อง เรียกว่าสวดแล้วขอ เป็นเทวตานุสติ ปู่ฤาษีนารอด มีทรัพย์สมบัติมาก แก้วแหวนเงินทอง เป็นเทพที่ร่ำรวย
อีกบท
**ฤ ฤา ฤ ฤา อมพ่อปู่ฤาษีนารอด จงมาประสิทธิเม แก่ข้าพเจ้าด้วยบารมี**

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระรอดครูบากองแก้ว เทียบกับ พระรอดมหาวัน

พระรอดครูบากองแก้ว

สร้างมาจากพระรอดองค์เก่าที่หักพังนำมาบดทำใหม่ พุทธคุณ ถือว่าใกล้เคียงกับพระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่ 
พระรอดครูบากองแก้ว  เป็นที่รู้จักและนิยมกันมานานแล้ว เช่นเดียวกับ พระรอดแขนติ่ง และ พระรอดน้ำต้น ซึ่งมีบันทึกประวัติการสร้าง จากหนังสือ "ปริอรรถาธิบายพระรอด" ของ "ตรียัมปวาย" พิมพ์ พ.ศ.๒๕๐๓ ไว้ว่า

              “ในปีพ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามอินโดจีน ภิกษุ กองแก้ว (ราชจินดา) รองเจ้าอาวาส (สมัยพระครูวินัยธร "ญาณวิจารณ์” เป็นเจ้าอาวาส) ได้ปฏิสังขรณ์ฐานพระเจดีย์มหาวัน อีกครั้ง เนื่องจากเกิดไม้กาฝากทำให้ชำรุด และในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้พบ พระรอด ซึ่งเจ้าอินทยงยศโชติ ได้จัดสร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๕๑ บรรจุไว้ มีผู้แตกตื่นมาขอเช่าบูชากันเป็นอันมาก โดยเข้าใจผิดว่าเป็น พระรอดรุ่นจามเทวี”

              “พระรอดกองแก้ว ในระยะเวลาใกล้กับการพบพระรอดอินทยงยศ นั้น ภิกษุกองแก้ว ได้สร้างพระรอดรุ่นใหม่ขึ้นอีกรุ่นหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๕ เรียกกันว่า พระรอดเสาร์ห้า หรือ พระรอดกองแก้ว การผสมเนื้อ ใช้ดินหรดาล ซึ่งขุดได้หม้อหนึ่ง เมื่อคราวมีการขุดหาพระรอดที่บริเวณลานวัด มาเป็นเชื้อผสมด้วย กล่าวกันว่า เป็นดินพิเศษ มีกลิ่นหอม พระรอดกองแก้ว นี้ มีข้าราชการทหาร และประชาชน มาเช่าบูชากันมาก”

              จากคำบอกเล่าของ อ.สันต์ ตาบุรี ผู้สร้าง พระรอดน้ำต้น ใน “ประวัติการสร้างพระรอดน้ำต้น” เขียนโดย "บังไพร" นิตยสารมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๓๑ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ พอจะสรุปได้ว่า "ครูบากองแก้ว เริ่มสร้างพระรอดตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณร อายุประมาณ ๑๙-๒๐ ปี (พ.ศ.๒๔๖๔ ) สมัยนั้น พระรอดมหาวัน รุ่นเก่า ยังไม่มีราคาค่างวดอะไร การสร้างพระของสามเณรกองแก้ว น่าจะมีเจตนาเพื่อบูรณะพระรอด และพระลำพูนพิมพ์อื่นๆ ที่แตกหักชำรุดเสียหาย เป็นจำนวนมาก เล่ากันว่า วางอยู่บริเวณโคนต้นไม้ในวัดเต็มไปหมด มากกว่าที่จะตั้งใจปลอมแปลงพระรอดรุ่นเก่า"

              จากบันทึกของ "ตรียัมปวาย" และ อ.สันต์ ตาบุรี อาจกล่าวได้ว่า พระรอดครูบากองแก้ว มีการสร้าง ๒ ครั้ง ครั้งแรก สมัยเป็นสามเณร ประมาณ (พ.ศ.๒๔๖๔) ครั้งที่สอง สมัยเป็นรองเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๘๕

              สมัยก่อน เซียนพระรอดรุ่นเก่าอย่าง ลุงเสมอ บรรจง  เฮียวัลลภ ร้านทองแสงฟ้า พี่สมศักดิ์ พร้อมเชื้อแก้ว ทวี โอจรัสพร ฯลฯ เล่นพระรอดครูบากองแก้ว กันอยู่ ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อ ทั้ง ๒ พิมพ์นี้ลักษณะองค์พระและฐานใกล้เคียงกับพิมพ์ของพระรอดรุ่นเก่าของกรุวัดมหาวันมาก ต่างกันที่ตำแหน่งของใบโพธิ์ บางองค์เนื้อจัด เหมือนพระรอดรุ่นเก่า พิมพ์เล็กเป็นพิมพ์นิยม สวยๆ ราคาหลายหมื่น

              ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๘ มีการขุดพบพระรอดครูบากองแก้ว โดย นายปั๋น และ หนานสม ได้จากลานวัดมหาวัน ใต้ต้นมะม่วง ใกล้กุฏิเจ้าอาวาส ได้พระรอดร่วมพันองค์ในหม้อดิน มี ๕ พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก ต้อ ตื้น พระส่วนใหญ่เนื้อสีเหลืองและเขียว ลักษณะการขุดพบ เป็นการขุดหาพระรอดรุ่นเก่า บริเวณลานวัด ช่วงนั้นพระบางส่วนได้ทะลักเข้าตลาดพระ ตลาดบุญอยู่ ข้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นตลาดพระใหญ่ที่สุดของ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว เซียนหลายคนดูแล้ว บางคนบอกไม่เก่า บางคนยืนยันว่าเก่า แท้ แน่นอน วงการพระเครื่องท้องถิ่นยังมีความเห็นแตกต่างกันเรื่องพิมพ์ หลายคนไม่กล้าเล่น ราคาพระก็ไม่ขยับ ความนิยมเลยเป็นรอง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อ จนถึงวันนี้

บทความจาก http://www.komchadluek.net/

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พุทธคุณของพระรอดพิมพ์ใหญ่

พุทธคุณของพระรอดพิมพ์ใหญ่


  พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี พระรอกิมพ์ใหญ่เปรียบดั่งกับหน้าที่การงานที่เจริญก้าวหน้า เป็นมหาอำนาจ เหมาะกับการรับราชการ หรือพ่อค้าประชาชนทั่วไป

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะพระรอดพิมพ์ใหญ่

ลักษณะพระรอดพิมพ์ใหญ่
1. ฐานประทับขององค์พระจะมี 4 ชั้น มากกว่าทุกพิมพ์ให้เปรียบเทียบดู

2. ตรงก้นขององค์พระจะเป็นรอยพับม้วนยื่นออกมาทางด้านหน้าเป็นจุดสังเกตจุดหนึ่ง
3. บริเวณแอ่งหน้าตักจะมีเส้นเล็ก ๆ ขนาดเท่าเส้นผมสั้น ๆ เรียกว่าเส้นผ้าทิพย์ ซ่อนอยู่ระหว่างใต้ร่องฐานที่เป็นแอ่งลึก
4. มีเส้นพิมพ์แตกตรงข้างหูด้านซ้าย มีติ่งนูนอยู่บนเส้นพิมพ์แตกนี้ประสานกับรอยพิมพ์แตกไปจรดกับโพธิ์ด้านซ้ายสุดลงมา
5. สะดือเป็นเบ้าคล้ายเบ้าขนมครก ไม่ใช่บุ๋มลึกลงไป
6. มีเส้นน้ำตกตรงใต้ศอกซ้าย ย้อยลงมาใต้เข่าขวาและใต้ฐานขั้นแรกลงมา
7. ก้านโพธิ์ใบโพธิ์วางตำแหน่งโดยรอบองค์พระอย่างมีมิติดูเป็นระเบียบงดงามทั้ง 7 ข้อนี้คือข้อสังเกตุในพระรอดพิมพ์ใหญ่

พระรอดพิมพ์ใหญ่
1.แยกกลุ่มโพธิ์ให้ได้มี 6 กลุ่มโดยมีก้านโพธิ์กั้น
2.ผนังซ้ายมือขององค์พระมีเส้นพิมพ์แตกลากจากพระกรรณยาวลงมาถึงโพธิ์ข้างหัวไหล่
3.ปลายพระกรรณเป็นขอเบ็ด
4.สะดือเป็นหลุมคล้ายเบ้าขนมครก
5.มีเส้นน้ำตกลากผ่านหน้าตักจนถึงชั้นฐาน
6.มีฐาน 4 ชั้น
7.หัวแม่มือขวากางอ้าปลายตัด
8.ใบโพธิ์กลางชุดที่ 2 เป็นโพธิ์ติ่ง
9.ใบโพธิ์จะตั้งเป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายทรงพีระมิด
10.เนื้อละเอียดมากด้านหลังเป็นลอยคล้ายลายนิ้วมือ
11.ก้นมีสองชนิดคือก้นเรียบและก้นแมลง สาบ (ก้นพับ)

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การค้นพบ พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่

 การค้นพบ พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่
ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ  ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง  จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร)  และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้



     ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์  บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว



     ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้ว
สุกกทันตฤษี  วาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดงสีดอกพิกุล  เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว  นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้



ที่ตั้งของวัดมหาวันลำพูน

ที่ตั้งของวัดมหาวันลำพูน


วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย  เมื่อประมาณปี   พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ   และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน

ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร  ได้มีการปฏิสังขรณ์์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘  ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป  พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก  เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น  อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (บ่อน้ำปัจจุบัน) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนี้ได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์วัดมหาวัน  พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการบูชา  แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด
ปัจุบัน วัดมหาวันลำพูน ตั้งอยู่ที่
วัดมหาวัน หมู่ 3, ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน, 51000
51000



วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตำนานการสร้างพระรอดมหาวัน



  ตำนานการสร้างพระรอดมหาวัน 
 ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้ว
สุกกทันตฤษี  วาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดงสีดอกพิกุล  เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว  นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ประวัติ พระฤาษีนารอด ผู้สร้างพระรอดมหาวัน

ระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ แล้วแต่จะเรียก
 




เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
พระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้
พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก

สิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติม
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง
พระฤษีนารอด ท่านเป็นหมอยาที่มีคาถาอาคมเก่งกล้า ทั้งยังเป็นอาจารย์รดน้ำมนต์ที่เก่งที่สุดอีกด้วยท่านมีบารมีมาก ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น รูปร่างหน้าตาของท่านก็ยังมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงในระหว่างอกมือถือดอกบัว ตรงด้านหน้ามีบาตรน้ำมนตร์ตั้งอยู่เป็นประจำ เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชงัดนักแล ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววันมักจะมีคนพูดกันทั่วไปว่า พระฤษีนารอดเป็นพี่ชายของ พระฤษีนารายณ์แต่บำเพ็ญพรตกันอยู่คนละแห่ง นานๆจึงจะได้พบกันสักครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ที่จริงแล้วผู้ที่เป็นน้องชายของพระฤษีนารอดก็คือ พระฤษีนาเรศร์ มิใช่พระฤษีนารายณ์ ที่ถูกต้องก็คือ พระฤษีนาเรศร์ นี่แหละที่เป็นน้องชายแท้ๆของ พระฤษีนารอด และก็ได้บำเพ็ญตบะอย่างมุ่งมั่นอยู่กันคนละแห่ง สำหรับพระฤษีนาเรศร์นี้ ท่านเก่งในคาถาอาคมศักดิ์สิทธิ์มีเวทมนตร์ขลังเป็นที่สุด ชอบสันโดษบำเพ็ญพรตอยู่แต่ในป่าลึกๆ ไม่ค่อยชอบสมาคมกับใครเท่าใดนัก แม้แต่พี่น้องกันแท้ๆ ยังนานๆได้พบกันที พอพบกันก็จะดีใจถึงกับกอดกันแน่นด้วยความปลื้มปิติยินดีท่านที่กราบไหว้บูชาพระฤษีสององค์พี่น้องก็จะเป็นมงคลอันสูง ท่านก็จะได้แผ่บารมีแห่งความเมตตามายังท่าน มาป้องปัดบำบัดรักษา และคุ้ม
ครองมิให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนตลอดกาล....

พระฤษีนารอดสวมเทริดฤษี ยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาโสฬสนอกกรุงลงกา เมื่อครั้งหนุมานไปถวายแหวนนางสีดา เหาะเลยกรุงลงกาไปจึงไปพบพระฤษีนารอด(ฤษีนารท) โดยบังเอิญ แล้วต่อสู้กัน หนุมานแพ้จึงยอมอ่อนน้อมให้พระฤษี และเมื่อครั้งหนุมานเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางดับไม่ได้ พระฤษีนารอดจึงดับให้....